วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สาธิตการใช้โปรแกรม Google SketchU


ศึกษาได้จากลิงค์: http://smallrule.blogspot.com/2014/08/blog-post.html
เรียบเรียงโดย นักเรียนกลุ่มที่ 12

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์สร้างสรรค์ผลงาน

รายงานการเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์สร้างสรรค์ผลงาน
ชื่อโครงงาน ห้องเรียนอัจฉริยะ
กลุ่มที่ 12

สมาชิกกลุ่ม 
1.) นายปัณณวัฒน์       เพียรจัด
2.) นายชนวีร์               เพชรประภัสสร
3.) นายธันยา                ช่วยสีนวล
4.) นายดนัยพัชร          ตวงวัฒนสิน

วิธีดำเนินการ
1.) ศึกษาการใช้โปรแกรม Dreamweaver, Google sketchUp
2.) สืบค้นข้อมูลจาก Internet
3.) ร่างโครงร่างของโมเดลโดยใช้ Google sketchUp
4.) นำข้อมูลต่างๆมาจัดทำเป็นโมเดล

ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
1.) เป็นแนวทางในการนำไปใช้สำหรับห้องเรียน
2.) ประหยัดค่าไฟ

แหล่งเรียนรู้
1.) Youtube
2.) Google
หลักฐานประกอบ
1.) การศึกษาโดยนำความรู้ที่ได้มาทำเป็น Blog
2.) การออกแบบโมเดลโดยใช้ Google sketchUp






สาธิตการใช้ซอฟแวร์  เรียบเรียงโดยนักเรียนกลุ่มที่ 12


วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจัดทำข้อเสนอโครงงาน


ชื่อโครงงาน :  clever  class


ชื่อผู้ทำโครงงาน :
          1.นายปัณณวัฒน์  เพียรจัด  เลขที่  1  ม.5/11
          2.นายชนวีร์  เพชรประภัสสร         เลขที่ 5  ม.5/11
          3.นายธันยา ช่วยสีนวล      เลขที่  6  ม.5/11
         4.นายดนัยพัชร์  ตวงวัฒนสิน  เลขที่  13 .5/11

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา :
 อาจารย์กิติมา เพชรทรัพย์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม :  -
ระยะเวลาดำเนินการ : พฤษภาคม - กันยายน 2557

ที่มา แนวคิด และประโยชน์
ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และการดำรงชีวิตของเราในปัจจุบัน แต่กำลังการผลิตไฟฟ้านั้นไม่เพียงพอต่อการต้องการของประชาชน จึงต้องมีการแสวงหาแนวทางในการเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ถ้าหากเรารู้จักการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนการใช้ไฟฟ้า แต่มาตรฐานการประหยัดไฟฟ้าของแต่ละคนไม่เท่ากัน  เราจึงมีแนวคิดสร้างห้องจำลอง ที่ควบคุมการใช้ไฟฟ้าของผู้ที่ใช้งาน โดยควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้งาน

ขอบเขตโครงงาน :  สร้างโมเดลห้องเรียนอัจฉริยะ

 วัตถุประสงค์  
1. เพื่อพัฒนาโปรแกรมในการควบคุมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. เพื่อปลูกจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของพลังงานไฟฟ้า
3. เพื่อมีส่วนช่วยในการประหยัดไฟฟ้า

หลักการและทฤษฎี : การแก้ปัญหาโดยการสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ โดยสร้างเป็นห้องเรียนควบคุมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าของนักเรียน จะช่วยให้นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่ดี เหมาะสมต่อโอกาส และนักเรียนยังสามารถนำพฤติกรรมนี้ไปปรับใช้กับที่บ้าน เพื่อขยายความรู้ในวงกว้าง และช่วยลดภาระให้กับประเทศชาติได้
วิธีดำเนินงาน

     อุปกรณ์ที่ต้องใช้
ซอฟแวร์
Google sgetup
Lego Mindstorms Education NXT
ฮาร์ดแวร์
ชุด NXT Base Set

     แนวทางการดำเนินงาน  
1. เลือกหัวข้อโครงงาน
2. การศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
3. การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
4. การจัดทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงผลโครงงาน
     งบประมาณ  : -

     ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

         ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
         ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557
ที่
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
ระยะเวลาดำเนินการ(ครั้งที่)
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดวันเสร็จ
หมายเหตุ
1
2
3
4
1
รวบรวมข้อมูลในการทำโครงงาน




ทั้งกลุ่ม
พฤษภาคม 57
-
2
จัดทำเค้าโครงโครงงาน




ปัณณวัฒน์,ชนวีร์
มิถุนายน 57
-
3
ออกแบบห้องจำลอง




ธันยา,ดนัยพัชร์
กรกฎาคม 57
-
4
เลือกอุปกรณ์สร้างห้องทดลอง




ทั้งกลุ่ม
กรกฎาคม 57
-
5
สร้างห้องจำลอง




ทั้งกลุ่ม
สิงหาคม 57
-
6
ตรวจสอบงาน




ทั้งกลุ่ม
สิงหาคม 57
-
7
นำเสนอผลงาน




ทั้งกลุ่ม
กันยายน 57
-


ผลที่คาดว่าจะได้รับ  สามารถสร้างพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมแก่เยาวชน และช่วยให้สามารถประพลังงานไฟฟ้าได้อีกทาง


เอกสารอ้างอิง

   กระทรวงพลังงาน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.energy.go.th. ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗

   การไฟฟ้านครหลวงแห่งประเทศไทย . (ออนไลน์). แหล่งที่มา :www.mea.or.th . ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ศึกษาตัวอย่างโครงงาน

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง      ระบบจัดการแผนงานออนไลน์
ความเป็นมาของโครงงาน    ทางกลุ่มสนใจในการสร้างสรรค์งานพัฒนาโปรแกรม จึงสอบถามข้อมูลปัญหาและความต้องการจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานในโรงเรียนพบว่า ปัญหาในการตรวจสอบการใช้งบประมาณของแต่ละโครงการของฝ่ายงานต่างๆ ต้องตรวจสอบกับเอกสารของฝ่ายแผนงานเท่านั้นทำให้ยุ่งยากในการตรวจสอบ โดยเฉพาะบางกลุ่มงานไม่ได้บันทึกข้อมูลการใช้งบประมาณ ทางกลุ่มจึงได้เสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทพัฒนาโปรแกรมเรื่อง ระบบจัดการแผนงานออนไลน์
            และจากการทดลอง ศึกษา สอบถาม ผลจากผู้ใช้งานในปีการศึกษา 2555 ทางกลุ่มก็ได้นำมาปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงงาน          
เพื่อพัฒนาโปรแกรมระบบจัดการแผนงานออนไลน์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
เพื่อปรับปรุงให้มีความสอดคล้อง ตรงตามเป้าหมายของผู้ใช้งาน
สมมุติฐานของการดำเนินการ (ไม่มี)
ขอบเขตของการดำเนินการ    
การใช้งานของระบบจัดการแผนงานออนไลน์ของกลุ่มงานนโยบายและแผนงาน
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล  ตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการชำกิ่งกุหลาบ หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย เป็นต้น
2.โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.โครงงานพัฒนาเกม ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ
4.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น
5. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี จำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น
2 ข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
เอสคิวแอล (SQL) คือ ภาษาสอบถามข้อมูล หรือภาษาจัดการข้อมูลอย่างมีโครงสร้าง เพราะจัดการข้อมูลได้ง่าย เช่น MySQL, MsSQL, PostgreSQLหรือ MS Access
SQL เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อจัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ
MySQL (มายเอสคิวแอล)
เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ภาษา SQL   MySQL สร้างขึ้นโดยชาวสวีเดน 2 คน และชาวฟินแลนด์ ชื่อ David Axmark, Allan Larsson และ Michael “Monty” Widenius.
ชื่อ “MySQL” อ่านออกเสียงว่า มายเอสคิวเอลหรือ มายเอสคิวแอล

 

การใช้งาน
MySQL เป็นที่นิยมใช้กันมากสำหรับฐานข้อมูลสำหรับเว็บไซต์ เช่น มีเดียวิกิ และ phpBBและนิยมใช้งานร่วมกับภาษาโปรแกรม PHP ซึ่งมักจะได้ชื่อว่าเป็นคู่

ภาษาHTML
HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์
Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ Tag เดี่ยวเป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น<HR>, <BR>เป็นต้น
Tag เปิด/ปิดเป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash
( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น<B>…</B>, <BLINK>…</BLINK>เป็นต้น
โครงสร้างของภาษา HTML
ไฟล์เอกสาร HTML ประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วนคือ Head กับ Body โดยสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายๆ ก็คือ ส่วน Head จะคล้ายกับส่วนที่เป็น Header ของหน้าเอกสารทั่วไป หรือบรรทัด Title ของหน้าต่างการทำงานในระบบ Windows สำหรับส่วน Body จะเป็นส่วนเนื้อหาของเอกสารนั้นๆ โดยทั้งสองส่วนจะอยู่ภายใน Tag <HTML>…</HTML>
โปรแกรมภาษา PHP
            พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
รู้จักกับโปรแกรม Photoshop CS3

ภาพที่2.1Logo Adobe Photoshop CS3
โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ


รู้จักกับโปรแกรม Dreamweaver

ภาพที่ 2.2 Logo Dreamweaver CS3

อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver)  เป็นโปรแกรมแก้ไข HTML ในการพัฒนาโปรแกรมที่มีการรวมทั้งสองแบบเข้าด้วยกันแบบนี้

ทำความรู้จักกับ AppServ


ภาพที่ 2.3 Logo MySQL PHP

AppServ คือ ชุดโปรแกรมในลักษณะของ WAMP ในการสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์สำเร็จรูปบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ สร้างโดยชาวไทย


วิธีดำเนินงาน
ดำเนินการจัดทำโครงงานตามแนวทางการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ 6 ขั้นตอนดังนี้
3.2.1      การเลือกหัวข้อโครงงาน
3.2.2      การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
3.2.3      การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
3.2.4      การจัดทำโครงงานประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

3.2.4.1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา โดยระบุ
3.2.4.2 การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา
1.สำนักงานผู้อำนวยการ
2. อำนวยการ
3. วิชาการ
4. บริหารงานทั่วไป
5.กิจการนักเรียน
6. ภาษาไทย
7. คณิตศาสตร์
8. วิทยาศาสตร์
9. ศิลปะ
10. สังคมศึกษา
11. สุขศึกษาและพลศึกษา
12. ภาษาต่างประเทศ
13. ห้องสมุด
14. แนะแนว
15. ประชาสัมพันธ์
16. โสตทัศน์ศึกษา
17. โภชนาการ
18. นโยบายและแผนงาน
19. ชุมชนสัมพันธ์
20. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
21. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
22. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)


3.2.4.1                            การดำเนินการแก้ปัญหา
3.2.4.2                            การตรวจสอบและปรับปรุงวิธีการ
3.2.4.3                            การจัดทำคู่มือการใช้งาน
3.2.5 การเขียนรายงาน
ผลการดำเนินการ
                ระบบจัดการแผนงานออนไลน์สามารถแสดง Report รายงานข้อมูลจำนวนเงินคงเหลือในแต่ละโครงการของฝ่ายงาน และยอดรวมจำนวนเงินของทุกฝ่ายงานออกมาเป็นช่วงเดือนหรือรายปีได้ สามารถส่งออกเป็นไฟล์งานExcel และประเมินผลการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซต์ได้ หรือส่งออกเป็นไฟล์งาน Word เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานต่อได้เช่นกัน
สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
              โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องระบบจัดการแผนงานออนไลน์โดยดำเนินการจัดทำโครงงานตามแนวทางการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ 6 ขั้นตอนคือ การเลือกหัวข้อโครงงาน การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน การจัดทำข้อเสนอโครงงาน และการจัดทำโครงงาน ขอบเขตการทำงานของระบบจัดการแผนงานออนไลน์สำหรับกลุ่มงานนโยบายและแผนงานโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา http://planonline.srp.ac.th/ คือผู้ใช้ต้อง Login เข้ามาใช้ระบบ ซึ่งระบบจะรับข้อมูลชื่อโครงการและรายละเอียดของกิจกรรมและสามารถเพิ่มรายการการเบิกจ่ายงบประมาณ ตรวจสอบยอดงบประมาณรวมของกิจกรรมในแต่ละโครงการและยอดงบประมาณที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งสามารถแสดง Report รายงานข้อมูลจำนวนเงินคงเหลือในแต่ละโครงการของฝ่ายงาน และยอดรวมจำนวนเงินของทุกฝ่ายงานออกมาเป็นช่วงเดือนหรือรายปีและสามารถประเมินผลการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซต์ได้ รวมทั้งส่งออกเป็นไฟล์งาน Excel และไฟล์งาน Word เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานต่อได้


ปัญหาอุปสรรคในการทำโครงงาน 
     การพัฒนาระบบให้รองรับกับทุกบราวเซอร์ซึ่งขณะนี้ใช้ได้ดีกับ google chrome
ข้อเสนอแนะ 
     พัฒนาให้ใช้งานของโรงเรียนต่างๆ